เบื่องาน หรือ กลัวงาน? เช็กสัญญาณเตือน ก่อนชีวิตพังเพราะงาน!

  • 28 Feb 2025
  • 2025
ขี้เกียจทำงาน, โรคกลัวการทำงาน, Ergophobia, กลัวไปทำงาน, ไม่อยากไปทำงาน

 

หลายครั้งที่เรามักตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมเราถึงรู้สึกไม่อยากไปทำงานนะ? บางทีอาจเป็นเพราะเรารู้สึกขี้เกียจไปทำงาน หรือบางทีอาจเป็นอาการของโรคกลัวการทำงานก็เป็นได้ แต่เราจะแยกแยะได้อย่างไรว่ากำลังเป็นอะไรกันแน่? วันนี้ JOBBKK จะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยนี้กัน พร้อมแนะนำวิธีรับมือเมื่อเผชิญหน้ากับความกลัว งั้นไปติดตามกันเลยดีกว่า!


ความแตกต่างระหว่าง "ขี้เกียจ" กับ "โรคกลัวการทำงาน"


ขี้เกียจไปทำงาน : มักจะเป็นอาการที่เรารู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงาน รู้สึกหมดแพชชั่น แรงผลักดันหรือแรงจูงใจ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดมาจากความเหนื่อยล้า การที่ต้องทำอะไรซ้ำๆเดิม ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ซึ่งการขี้เกียจไปทำงานนับว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครหลายๆคนก็เป็น


โรคกลัวการทำงาน (Ergophobia) : เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกมีความกลัวและความกังวลอย่างรุนแรง อาจจะเป็นการกลัวเพื่อนร่วมงานมองมาไม่ดีหากทำงานได้แย่ หรืออาจะเป็นความวิตกกังวลว่าหากเรามีการวางแผนหรือทำงานออกมาได้ไม่ดีก็จะทำให้เกิดความล้มเหลว โดยอาจสามารถเกี่ยวถึงสภาพแวดล้อมหรือเพื่อนร่วมงานได้ ซึ่งโรคนี้ค่อนข้างส่งผลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยอาจเป็นเหตุผลที่ไม่อยากไปทำงาน

 

 

 

 

How To แก้ปัญหาเบื่องานและกลัวงาน ก่อนส่งผลเสียต่อชีวิต


1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต - การพบจิตแพทย์เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากในยุคที่มีแรงกดดันจากการทำงานสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้เชี่ยวชาญจะช่วยประเมินอาการและแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมได้ดีกว่าการวินิจฉัยด้วยตัวเอง

2. บำบัดพฤติกรรมและความคิด (CBT) - เทคนิคนี้ช่วยรักษาความกลัวและความวิตกกังวลจากการทำงานได้ โดยจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความกลัว และลดทัศนคติเชิงลบลงได้

3. ค่อยๆ เผชิญหน้ากับความกลัว (Gradual Exposure) - เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นและความกลัวลดลงแล้ว ให้ลองเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริงในการทำงานดู แม้อาจรู้สึกระแวงในตอนแรก แต่ให้ลองหลอกตัวเองไปก่อนว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น และคิดบวกว่าถึงจะเกิดความผิดพลาด เราก็สามารถรับมือและเอามาเป็นบทเรียนได้ เมื่อกล้าเผชิญหน้าครั้งแรกได้แล้ว ต่อไปจะทำได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ จนกลับมาทำงานได้ตามปกติ


ถ้าเป็นโรคกลัวการทำงาน แต่ยังจำเป็นต้องทำงานอยู่ จะทำอย่างไรดี?
เริ่มจากปรึกษาจิตแพทย์ก่อน เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ระหว่างนั้นให้ค่อยๆ ปรับตัว เช่น ขอเวลาพักเพิ่ม ลดงานที่กดดัน หรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานบ้าง ที่สำคัญคือต้องให้เวลากับตัวเองในการรักษาและปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

โรคกลัวการทำงานสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม?
สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการทำตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาให้หายขาด แต่ต้องใช้เวลาและความอดทนพอสมควร

 

ถ้าคิดว่าตัวเองเป็นโรคกลัวการทำงาน ควรทำอย่างไร?
สิ่งแรกคือต้องไม่ตัดสินหรือโทษตัวเองว่าเป็นคนขี้ขลาด แต่ให้ยอมรับว่านี่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษา การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยวินิจฉัยอาการได้แม่นยำ จากนั้นให้ทำตามคำแนะนำในการรักษา ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติต่อการทำงานไปในทางบวกมากขึ้น รับรองว่าสักวันต้องหายและกลับไปทำงานได้อย่างมีความสุขแน่นอน

 

ถ้าคุณกำลังรู้สึกว่าตัวเองเป็นโรคกลัวการทำงานจนส่งผลเสียต่อชีวิตมากๆ ไม่ว่าจะเรื่องรายได้ อนาคต หรือความสัมพันธ์ ก็อย่าได้ลังเลที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด เพราะยิ่งปล่อยไว้นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งแก้ไขยากขึ้นเท่านั้น อย่ามัวแต่ขี้เกียจไปทำงานจนกลายเป็นโรคหนักโดยไม่รู้ตัว 

 

อ่านบทความคลังความรู้เพิ่มเติม >> คลิก

JOBBKK.COM © Copyright All Right Reserved

Jobbkk has only one website. In no case, we have an affiliate, agent or appointee. Please do not rely on any other website, email, telephone, SMS or other contacting channel. If it is a case, we will prosecute under a lawsuit in the upmost as allowed. DBD

Top